top of page

การปฏิบัติตนตามหลักรัฐธรรมนูญ

ความหมายของสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่

สิทธิ หมายถึง สิ่งที่ไม่มีรูปร่างซึ่งมีอยู่ในตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิดหรือเกิดขึ้นโดยกฎหมาย เพื่อให้มนุษย์
ได้รับประโยชน์ และมนุษย์จะเป็นผู้เลือกใช้สิ่งนั้นเอง โดยไม่มีผู้ใดบังคับได้ 

เสรีภาพ หมายถึง การใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้อย่างอิสระ  แต่ทั้งนี้จะต้องไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่น

หน้าที่ หมายถึง การกระทำหรือการละเว้นการกระทำเพื่อประโยชน์โดยตรงของการมีสิทธิหน้าที่เป็น สิ่งที่บังคับให้มนุษย์ในสังคมต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางสังคมหรือกฎหมายบัญญัติไว้

 

สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

สิทธิของปวงชนชาวไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและ เสรีภาพของปวงชนชาวไทยไว้ในหมวด 3 โดยในหมวดดังกล่าวว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของปวงชน ชาวไทยในลักษณะต่างๆ ดังนี้

1.สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล เช่น บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง เป็นต้น

2.สิทธิในกระบวนการยุติธรรม เช่น บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม มีสิทธิเข้า ถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึงเด็ก เยาวชน สตรีผู้สูงอายุ หรือ ผู้พิการหรือทุพพลภาพก็ย่อมเข้าถึงได้

3.สิทธิในทรัพย์สิน เช่น สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครองการเวนคืน อสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นต้น

4.สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ เช่น บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับหลักประกันความปลอดภัยและสวัสดิภาพในการทำงาน รวมทั้งหลักประกันในการดำรงชีพที่เหมาะสม เป็นต้น

5.สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา เช่น บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการได้รับการศึกษาไม่ น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายจากผู้ยากไร้ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ

6.สิทธิในการรับบริการทางด้านสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ เช่นบุคคลย่อมมีสิทธิอย่างเสมอภาคในการรับบริการด้านสาธารณะสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน สำหรับผู้ยากไร้จะได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

7. สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน เช่นบุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐเว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลหรือ ข่าวสารนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน หรือส่วนได้เสียอันพึงได้ รับความคุ้มครองของบุคคลอื่นหรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล

8. สิทธิชุมชน เช่น  บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์
หรือฟื้นฟูจารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ

9. สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ  เช่น บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้าง การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศ
โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมิได้

เสรีภาพของปวงชนชาวไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการปกป้อง คุ้มครองเสรีภาพของประชาชนชาวไทยไว้ในหลายด้าน ซึ่งแต่ละด้านก็จะมีความเกี่ยวข้องกับสิทธิ ของปวงชนชาวไทย ดังนี้

1.บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิด
สิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น

2. บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคหสถาน บุคคลย่อมได้รับ ความคุ้มครองในการที่จะอยู่อาศัยและ
ครอบครองเคหสถาน โดยปกติสุข

3. บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเดินทางและมีเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายในราชอาณาจักร

การจำกัดเสรีภาพจะกระทำมิได

4. บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทาง ศาสนา
ตามความเชื่อของตน

5. บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรี  การจำกัด

เสรีภาพในการประกอบอาชีพจะกระทำมิได้

6. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน เช่น บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดง

ความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ฯลฯ

7. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการ การศึกษา การวิจัยและการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง

8. เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ การจำกัดเสรีภาพจะกระทำมิได้เว้นแต่ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ

9. เสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์กลุ่มเกษตรกร องค์การ เอกชน

10. เสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมือง เพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของ ประชาชน และเพื่อดำเนินกิจกรรมในทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์นั้นตามวิถีทางการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

หน้าที่ของปวงชนชาวไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติถึงหน้าที่ของปวงชนชาวไทยไว้หลายประการ ดังนี้

1. บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

2. บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติและปฏิบัติตามกฎหมาย

3. บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง บุคคลซึ่งไปใช้สิทธิหรือไม่ไปใช้สิทธิโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรย่อมได้รับสิทธิหรือเสียสิทธิตามกฎหมาย

4. บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหาร ช่วยเหลือในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติสาธารณะเสียภาษีอากรฯลฯ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

5. บุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม

กล่าวโดยสรุป เสาหลักที่สำคัญตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญคือ สิทธิเสรีภาพ และหน้าที่เป็นกฎเกณฑ์

ที่สำคัญของบุคคลและสังคม เป็นทั้งการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน นอกจากประชาชนจะมีสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ตามบทบัญญัติที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ประชาชนยังต้องปฏิบัติตามจารีต ประเพณีและ

กฎเกณฑ์ทางสังคมที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทยทั้งนี้เพื่อให้ประเทศชาติมีความสงบเรียบร้อย มีความมั่นคง และมีวัฒนธรรมอันดีงามซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

  • Facebook Social Icon
  • Twitter Social Icon
  • Google+ Social Icon
  • YouTube Social  Icon
  • Pinterest Social Icon
  • Instagram Social Icon
Unknown Track - เพลงวันชาติ 24 มิถนายน 2475
00:00
bottom of page