
รัฐธรรมนูญกับการเมืองการปกครองของไทย



อำนาจอธิปไตย


อำนาจอธิปไตยคืออะไร
อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ ความเป็นรัฐ
หรือประเทศ เพราะการจะเป็นรัฐได้นั้น นอกจากต้องประกอบด้วยอาณาเขต ประชากร และรัฐบาลแล้ว
ย่อมต้องมีอำนาจอธิปไตยด้วย กล่าวคือ ประเทศนั้นต้องเป็นประเทศที่สามารถมี อำนาจสูงสุดในการ
ปกครองตนเองจึงจะสามารถเรียกว่ารัฐได้โดยทั่วไปอำนาจอธิปไตยแยกใช้เป็น 3 ลักษณะ คือ
อำนาจนิติบัญญัติอำนาจบริหาร และ อำนาจตุลาการ สำหรับประเทศไทยนั้น รัฐธรรมนูญบัญญัติให้
ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยคือประชาชน และให้ประมุขของประเทศคือพระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยผ่านองค์กรทางการเมืองต่างๆ คือ ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรีและอำนาจตุลาการ ทางการศาล
1.อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจในการตรากฎหมายของรัฐเพื่อมาใช้บังคับ
แก่พลเมืองของ รัฐ องค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติคือ รัฐสภา ซึ่งตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดให้ประเทศ ไทยใช้ระบบ 2 สภา ดังนี้
1.1สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) จำนวน 480 คน โดยมาจากการเลือกตั้ง
ที่มี 2 ประเภท คือ
สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน จำนวน 80 คน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรตามบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น
สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตการเลือกตั้ง จำนวน 400 คน โดยให้ผู้มี สิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งออกเสียงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เท่าจำนวนสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรมีได้ในเขตเลือกตั้งนั้น
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 2 ประเภท มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี
1.2 วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกด้วยสมาชิกจำนวน 150 คน มาจากการเลือกตั้งใน แต่ละจังหวัด จังหวัดละ 1 คน รวม 76 คน และมาจากการสรรหาจำนวน 74 คน ทั้งนี้ในการ เลือกตั้งวุฒิสภาในแต่ละจังหวัด
ให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง วุฒิสภามีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี
อำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
อำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจหน้าที่แตกต่างกันตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ดังนี้
1) การเสนอชื่อบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี เป็นอำนาจ หน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร
ส่วนวุฒิสภามีหน้าที่เพียงรับทราบมติเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากสภา ผู้แทนราษฎรเท่านั้น
2) การควบคุมรัฐบาล ส่วนใหญ่เป็นอำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร โดย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐบาลและเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ ส่วนวุฒิสภามีสิทธิที่จะตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีและขอเปิดอภิปรายทั่วไปได้แต่ไม่มีสิทธิเปิดอภิปราย เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล
3) การตรากฎหมายต่างๆ เป็นอำนาจหน้าที่ร่วมกันทั้ง 2 สภาโดยสภาผู้แทน ราษฎรจะเป็นผู้มีอำนาจริเริ่ม
ในการตรากฎหมายต่างๆ ซึ่งในการตรากฎหมายอาจมาจากการเสนอ โดยคณะรัฐมนตรีก็ได้เมื่อสภาผู้แทนราษฎรมีมติร่างกฎหมายนั้นแล้วหรือวุฒิสภาเห็นว่ากฎหมายนั้นดีแล้ว ก็จะมีมติให้ผ่านร่างกฎหมายนั้น หากเห็นว่ามีข้อบกพร่องอยู่ก็จะลงมติให้แก้ไขข้อ บกพร่องนั้นก่อนจะให้นายกรัฐมนตรีจะนำร่างกฎหมายนั้นขึ้นกราบบังคับทูลให้พระมหากษัตริย์ทรงลงปรมาภิไธย
2. อำนาจบริหาร คือ อำนาจในการบริหารประเทศและการกำหนดนโยบายตามกฎหมายที่ ฝ่ายนิติบัญญัติ
ตราขึ้น องค์กรที่ใช้อำนาจบริหาร คือ คณะรัฐมนตรีซึ่งตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้ คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยบุคคลไม่เกิน 36 คน ได้แก่ นายกรัฐมนตรี1 คน และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่ เกิน 35 คน
อำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี
อำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีมีดังนี้
1) คณะรัฐมนตรีจะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจ ภายใน 15 วัน
นับตั้งแต่เข้ารับหน้าที่
2) รัฐมนตรีมีสิทธิเข้าประชุมและแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมสภา และกรณี
ที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภามีมติให้เข้าประชุมเรื่องใด รัฐมนตรีจะต้องเข้าร่วมประชุม นั้น
3) คณะรัฐมนตรีต้องบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและ นโยบายที่ได้แถลงไว้
4) หากมีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะ ฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา นายกรัฐมนตรีจะแจ้งไปยัง ประธานรัฐสภาเพื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาก็ได้
3.อำนาจตุลาการ คือ อำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีที่เป็น
อำนาจของศาล โดย นำกฎหมายที่ตราโดยฝ่ายนิติบัญญัติมาปรับใช้
กับข้อเท็จจริงที่เกิดในแต่ละกรณีองค์กรที่ใช้อำนาจ ตุลาการ คือ ศาล ซึ่งตามรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ศาลมี 4 ประเภท ดังนี้
3.1 ศาลรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่วินิจฉัยร่างพระราชบัญญัติหรือกฎหมายใดๆ ว่าขัดแย้ง กับรัฐธรรมนูญหรือไม่ วินิจฉัยหน้าที่ขององค์กรในกรณีที่องค์กรนั้นๆ มีปัญหาให้วินิจฉัย เป็นต้น
3.2 ศาลยุติธรรม มีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีในคดีแพ่งและคดีอาญา ศาล ยุติธรรมมี3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา
3.3 ศาลปกครอง มีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการใช้ อำนาจหรืออันเนื่องมาจากการกระทำหรือละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐกับ เอกชนหรือหน่วยงานด้วยกัน
3.4 ศาลทหาร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ใน อำนาจศาลทหาร และคดีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนิติบัญญัติอำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ จะมีหน้าที่ภายใต้กรอบแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย กล่าวคือ ฝ่ายนิติบัญญัติ(รัฐสภา) จะใช้ อำนาจทางนิติบัญญัติในการออกกฎหมาย ฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรี) จะใช้อำนาจบริหาร คือ การบริหารประเทศ ส่วนศาลจะใช้อำนาจตุลาการ คือ
การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีที่ฝ่ายบริหาร ส่งมาหรือที่เกิดขึ้น โดยมีความเป็นอิสระและตัดสินอย่างยุติธรรมตามบทบัญญัติของกฎหมาย
การถ่วงดุลอำนาจอธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ
จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นว่า ในระบอบประชาธิปไตยนั้นจะมีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย ออกเป็น 3 ฝ่าย ซึ่งเป็นการแบ่งแยกอำนาจหลักการประชาธิปไตยที่ไม่ต้องการให้มีการรวมอำนาจ แต่ต้องการให้มีการถ่วงดุลอำนาจกันและกัน ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรผู้ใช้ อำนาจนิติบัญญัติอำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ในเชิงถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน มีดังนี้
1.ฝ่ายนิติบัญญัติถ่วงดุลฝ่ายบริหาร
1.1 การรับฟังการแถลงนโยบายจากคณะรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรีจะต้องแถลง นโยบายต่อรัฐสภาก่อนจะเข้ามา
บริหารราชการแผ่นดินโดยรัฐสภา
จะรับฟังและตรวจสอบว่าคณะ รัฐมนตรีมีนโยบายอย่างไรและมีการดำเนินการตามนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐที่กำหนดไว้ใน รัฐธรรมนูญหรือไม่
1.2 การตั้งกระทู้ถามทั้งการตั้งกระทู้ถามปกติและการตั้งกระทู้ถามด่วน
1.2.1) การตั้งกระทู้ถามปกติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา มีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีหาก คณะรัฐมนตรีมีความเห็นว่าเรื่องนั้นยังไม่ควรเปิดเผยเพราะอาจกระทบถึงความปลอดภัยหรือ
ผลประโยชน์ของรัฐ รัฐมนตรีก็มีสิทธิที่จะไม่ตอบกระทู้ถามนั้นได้
1.2.2) การตั้งกระทู้ถามด่วน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิจะตั้งกระทู้ถามด่วนเกี่ยว กับการบริหารราชการแผ่นดินในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เป็นปัญหาสำคัญที่อยู่ในความสนใจของ ประชาชน เป็นเรื่องเร่งด่วนหรือเป็น
เรื่องที่กระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศ
1.3 การเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติ โดยสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อ เท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน โดยไม่มีการลงมติ
1.4 การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน ไม่น้อยกว่า1ใน5ของสภาเข้าชื่อเสนอญัตติเปิดอภิปรายไม่ไววางใจนายกรัฐมนตรี
2. ฝ่ายบริหารถ่วงดุลอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ
โดยวิธีการยุบสภา ซึ่งเป็นพระราชอำนาจของ พระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำของนายกรัฐมนตรีซึ่งจะทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติสิ้นสุดวาระก่อน กำหนด ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ในขณะเดียวกันฝ่ายบริหารเองต้องพ้นจากตำแหน่งและ จะรักษาการไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะเข้ามารับหน้าที่แทน
3. การถ่วงดุลระหว่างฝ่ายตุลาการกับฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ได้แก่
3.1) ฝ่ายตุลาการตรวจสอบ ควบคุมหรือถ่วงดุลฝ่ายนิติบัญญัติโดยกระบวนการ พิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
3.2) ฝ่ายนิติบัญญัติตรวจสอบ ควบคุม หรือถ่วงดุลอำนาจของฝ่ายตุลาการ โดย กระบวนการควบคุม อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีและการถอดถอนจากตำแหน่ง
3.3) ฝ่ายตุลาการถ่วงดุลและตรวจสอบฝ่ายบริหาร โดยกระบวนการพิจารณาคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การวินิจฉัยคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมือง
3.4) ฝ่ายบริหารถ่วงดุลอำนาจฝ่ายตุลาการ โดยการกลั่นกรองและให้ความเห็นชอบ วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี






