
รัฐธรรมนูญกับการเมืองการปกครองของไทย



รัฐธรรมนูญ หรือ (Constitution) คือกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
กำหนดรูปแบบของรัฐ ดินแดน ระบบการปกครองมีการกล่าวถึงอำนาจอธิปไตย
ทั้งสามคือ อำนาจนิติบัญญัต บริหาร ตุลาการ รวมถึงกำหนดบทบาทหน้าที่ของประชาชน โดยรัฐธรรมนูญมีความสำคัญดังนี้
1.เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศกฎหมายอื่นใดจะขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญมิได้
2.กำหนดรูปแบบการปกครองเช่น ไทยมีรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
3.คุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับแรกของประเทศคือ "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" จากการที่ "คณะราษฎร" ได้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ โดยรัฐธรรมนูญนี้สิ้นสุดลง หลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรให้ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ จึงถือเอาวันดังกล่าวเป็น "วันรัฐธรรมนูญ" จนถึงปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญ
ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๕๐
รัฐธรรมนูญนี้จัดทำขึ้นบังคับใช้แทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราวพุทธศักราช ๒๕๔๙ ภายหลังการก่อรัฐประหารในวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ โดยเห็นว่า มีความจำเป็นต้องกำหนดกลไกการปกครองที่เหมาะสมตาม ระบอบประชาธิปไตย อันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฟื้นฟูความรู้รักสามัคคีและความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและได้ดำเนินการลงประชามติเห็นชอบร่าง
รัฐธรรมนูญดังกล่าวในวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๐ ผลคือ ประชาชน
ลงมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้นี้ในวันที่ ๒๔ สิหาคม ๒๕๕๐
หลักการ โครงสร้าง และ สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทยพุทธศักราช๒๕๕๐
หลักการของรัฐธรรมนูญฉบับนี้มี ๘ ประการคือ
1. ธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชและความมั่นคงของชาติ
2. ทำนุบำรุงศาสนาทุกศาสนาให้สถิตสถาพร
3. เทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและเป็นมิ่งขวัญของชาติ
4. ยึดถือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5. คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
6. ส่งเสริมให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครอง
7. กำหนดกลไกสถาบันทางการเมือง ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ให้มีประสิทธิภาพตามวิถีการปกครอง 8. มุ่งให้สถาบันศาลและองค์กรอิสระอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริตเที่ยงธรรม
โครงสร้างของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
โครงสร้างของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ประกอบด้วยบทบัญญัติ 15 หมวด และบทเฉพาะกาลที่เป็นบทใช้บังคับชั่วคราว รวมมี309 มาตรา ดังนี้
หมวด 1 บททั่วไป (มาตรา 1 - 7)
หมวด 2 พระมหากษัตริย์(มาตรา 8 - 25)
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย (มาตรา 26 - 69)
หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย (มาตรา 70 - 74)
หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ (มาตรา 75 - 87)
หมวด 6 รัฐสภา (มาตรา 88 - 162)
หมวด 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน
(มาตรา 163 - 165)
หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ (มาตรา 166 - 170)
หมวด 9 คณะรัฐมนตรี(มาตรา 171 - 196)
หมวด 10 ศาล (มาตรา 197 - 228)
หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 229 - 258)
หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (มาตรา 259 - 278)
หมวด 13 จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา 279 - 280)
หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 281 - 290)
หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (มาตรา 291)
บทเฉพาะกาล (มาตรา 292 - 309)
สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จัดทำขึ้นเพื่อปรับปรุงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่ก่อให้เกิดการผูกขาด การใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จึงมีสาระสำคัญที่มุ่งจะแก้ไขปัญหา ดังกล่าว โดยดำเนินการใน 4 แนวทางด้วยกัน คือ
1. การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่
2. การลดการผูกขาดอำนาจรัฐและการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม
3. การทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรม
4. การทำให้ระบบตรวจสอบให้มีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช๒๕๕๐ ได้สิ้นสภาพการประการบังคับใช้เป็น
รัฐธรรมนูญของประเทศไทยแล้วตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และในขณะนี้ประเทศไทย
อยู่ภายใต้การดูแลของคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองและได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ฉบับชั่วคราวพุทธศักราช ๒๕๕๗ และจะใช้ไปจนกว่าจะมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรออกมาประกาศ
บังคับใช้ต่อไป
